ufabet

อาหารสำหรับโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไต

แนวทางการบริโภคสำหรับผู้ป่วยไตเรื้อรัง

จำกัดการรับประทานสารอาหารโปรตีน โปรตีนคือ สารอาหารที่จำเป็นในการเสริมสร้าง และซ่อมแซมกล้ามเนื้อให้ร่างกาย  เหตุผลที่จำกัดโปรตีนเพราะ ไตเป็นแหล่งกำจัดของเสีย ร่างกายเผาผลาญโปรตีน ถ้ากินโปรตีนมากก็จะมีของเสียผ่านไตมาก ไตทำงานหนักมากขึ้น  โปรตีนมีใน  เนื้อสัตว์  ข้าวแป้ง  ผัก  ผลไม้

  • เนื้อสัตว์เป็นอาหารที่ให้โปรตีนสูงกว่าอาหารหมู่อื่น ๆ (เนื้อสัตว์ 1 ส่วน (30 กรัม) = 2 ช้อนโต๊ะ ให้โปรตีน 7 กรัม) และควรกินโปรตีนที่มีคุณภาพดีอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของโปรตีนที่ได้รับทั้งวัน
  • โปรตีนที่มีคุณภาพดี  ร่างกายจะนำเอาโปรตีนไปใช้ได้อย่างเต็มที่ทำให้มีของเสียเกิดขึ้นน้อย  ไตจะไม่ทำงานหนักมาก อาหารโปรตีนคุณภาพดี ได้แก่  ไข่  เนื้อสัตว์  นม และผลิตภัณฑ์จากนม  โดยไข่แดงควรงด เมื่อมีระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง และการบริโภคโปรตีนควรบริโภคตามที่แพทย์กำหนด ควรเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ  โคเลสเตอรอลต่ำ และไม่ผ่านการแปรรูป เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อหมู-ไม่ติดมัน ควรหลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์ อาหารหมักดองเช่น แหนม ปลาส้ม ปลาเค็ม ปูเค็ม   เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น หมูแฮม ไส้กรอก กุนเชียง  เนื้อสัตว์ที่มีไขมันปริมาณมาก

จำกัดโซเดียม เกลือโซเดียมมีอยู่ในอาหารเกือบทุกชนิด และเป็นเกลือแร่ที่มีความสำคัญมากสำหรับร่างกาย มีบทบาทในการรักษาสมดุลน้ำ และความดันของเลือด ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแนะนำให้ผู้ป่วยจำกัดเกลือ ซอสปรุงรส ในอาหาร และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง เช่น อาหารสำเร็จรูป อาหารหมักดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม กุนเชียง เป็นต้น

ปริมาณโซเดียมที่ควรบริโภคใน 1 วัน = 2,000 มิลลิกรัม

จำกัดโปแตสเซียมโปแตสเซียม คือเกลือแร่ที่มีอยู่ในเลือด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหด และคลายตัวของกล้ามเนื้อ ถ้าร่างกายมีโปแตสเซียมคั่งในเลือดมากอาจเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและมีผลทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ และหัวใจหยุดเต้นได้ เกลือโปแตสเซียมมีมากในผัก และผลไม้บางชนิดจึงควรงดบริโภค ผักสีเข้ม ๆ เช่น คะน้าผักกวางตุ้ง

ufabet

แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ ฯลฯผลไม้ที่ควรงดบริโภค เช่น กล้วย ทุเรียน ฝรั่ง ขนุน มะละกอ ลูกเกด ลูกพรุน ผลไม้แห้ง ฯลฯ ควรเลือกบริโภคผักที่มีโพแทสเซียมต่ำและควรลวก

หรือต้มผักให้สุก เช่น ฟักเขียวสุก แตงกวา บวบสุก ผักกาดขาวปลีสุก ถั่วฝักยาวสุก ถั่วงอกสุก เป็นต้น  และควรเลือกบริโภคผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น ลองกอง ชมพู่ เงาะ แอปเปิ้ล องุ่น มังคุด แตงโม เป็นต้น

จำกัดฟอสฟอรัสฟอสฟอรัส คือ แร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อความแข็งแรงของกระดูก ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรจำกัดการกินอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงเนื่องจากร่างกายขับฟอสฟอรัสได้น้อย ทำให้เกิดการคั่งของฟอสฟอรัสในเลือด ซึ่งมีผลเสียต่อกระดูก เพราะร่างกายจึงดึงแคลเซียมออกจากกระดูก ทำให้กระดูกหัก  กระดูกพรุนได้ง่าย  ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ ไข่แดง  นม และผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเมล็ดแห้ง  เบียร์ เบเกอรี่  ช็อคโกแลต ชา กาแฟ น้ำอัดลมที่มีสีเข้มควบคู่กับการกินอาหารที่มีแคลเซียมเพียงพอ

จำกัดน้ำที่ต้องจำกัดน้ำเนื่องจากความสามารถในการขับปัสสาวะของผู้เป็นโรคไตเรื้อรังจะลดลงทำให้มีอาการบวมน้ำ และมีความดันโลหิตสูงขึ้น ถ้ามีอาการบวมน้ำ ให้ดื่มน้ำไม่ควรเกินวันละ 750 –1,000 ซีซี หรือ 3 – 4  แก้วต่อวัน

พลังงานควรได้รับพลังงานจากอาหารให้เพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่มีการเผาผลาญมากกว่าการสร้าง  ไขมันส่วนใหญ่ควรเป็นไขมันที่มาจากพืช ควรใช้น้ำมันรำข้าว

และน้ำมันถั่วเหลืองในการปรุงอาหารหลีกเลี่ยงไขมันจากเนื้อสัตว์  กะทิ และอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง และควรใช้แป้งโปรตีนต่ำ หรือปลอดโปรตีนในการเพิ่มพลังงานเช่น สาคู วุ้นเส้น  ผู้ป่วยโรคไตถ้าไม่ได้เป็นเบาหวาน สามารถรับประทานขนมหวานได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงขนมหวานที่ไม่ใส่กะทิ  หรือขนมอบที่มีเนย  หรือเนยแข็ง ถ้าผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวาน และระดับน้ำตาลในเลือดยังสูงอยู่ ควรเลี่ยงขนมหวานจัดซึ่งมีน้ำตาลมาก  24 – 32 กรัมโปรตีน/วัน


ติดตามเนื้อหาดีๆ น่าอ่านได้ที่ newberryfordinc.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated